Wednesday, 4 December 2013

นำเรื่อง

แม่น้ำเหลือง
เริ่มต้นที่

จากการสืบค้น อารยธรรมจีนเกิดบริเวณที่ราบลุ่มบนแม่น้ำสองสายได้แก่ แม่น้ำอึ๊งฮอ (แม่น้ำเหลืองหรือฮวงเหอ) และแม่น้ำเชียงกัง (แม่น้ำแยงซี) ตลอดช่วงเวลาตั้งแต่ยุคหินใหม่เป็นต้นมา





แม่น้ำเซียงกัง

สำหรับแม่น้ำสองสายนี้ ถือกันว่าแม่น้ำเหลืองได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นทางของอารยธรรมจีนมากที่สุด ตามหลักสากลจากการขุดค้นพบซากฟอสซิล "ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลของมนุษย์ ที่มีอายุมากกว่า 3 ล้านปี ในทวีปแอฟริกาในตอนนั้นจึงได้สรุปว่าแอฟริการเป็นแหล่งกำเนิดของมนุษย์"




แต่เมื่อไม่นานมานี้ ที่อำเภอบู๊ซัว(อูซาน) มณฑลต๋งเข่ง(ฉงชิ่ง) ก็ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลโบราณของ มนุษย์บู๊ซัว(อูซาน) ซึ่งมีอายุมากกว่า 2 ล้านปี จากการขุดพบในครั้งนี้นักโบราณคดีจึงเสนอว่าพื้นที่ในแถบเอเชียก็เป็นแหล่งต้นกำเนิดของมนุษย์เช่นกันและนักโบราณคดีได้ให้การยอมรับว่าอารยธรรมจีนเป็นหนึ่งในอารยะธรรมเก่าแก่มากของโลก รวมถึงได้มีหลักฐานการทำปฏิทินตั้งแต่ในสมัยโบราณ

ด้านภาษาในทุกวันนี้ภาษาจีน ในด้านการพูดมีถึง 8 สำเนียงภาษาด้วยกันโดยแบ่งออกเป้นตามท้องถิ่นได้แก่ จีนหนือ เจียงซู เจ๋อเจียง หูหนาน เจียงซี ฟุเจี้ยนเหนือ ฟุเจี้ยนใต้ และกว่างตง (ออกเสียงภาษาจีนกลางครับตรงส่วนนี้) โดยกำหนดให้สำเนียงราชการคือสำเนียง "ทงฮว่า" หรือ "กัวแหว่"(แต้จิ๋ว) ซึ่งเรื่องราวของภาษานั้นถ้าไม่พูดถึงคุณูปการของจักรพรรดิจิ๋นซีก็คงไม่ได้

จักรพรรดิจิ๋นซี เป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์จิ๋น หลังจากได้รวบรวมรัฐทั้ง 7 ในยุคเจียงก๊ก (จ้านกว๋อ)ให้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกลายเป็นประเทศจีนได้แล้ว พระองค์ก็ได้มีพระราชโองการออกคำสั่งให้ทุกเมืองใช้ตัวอักษรอย่างเดียวกัน ทำให้ถึงแม้จะต่างเมืองต่างภาษาต่างสำเนียง แต่เมื่อเขียนออกมาก็สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกันลดปัญหาเรื่องการสื่อสารผิดพลาดลงได้มาก

แต่ก่อนที่เราจะกล่าวถึงราชวงศ์จิ๋นเราคงต้องดูลำดับราชวงศ์กันไปตามช่วงเวลา สำหรับในยุคปัจจุบันได้ใช้หลักฐานและบันทึกต่างๆ เพื่อหาข้อมูลในอดีตและเท่าที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเช่น บันทึกผืนไม้ไผ่ (เต็กแจกี๋นี้) ซึ่งเชื่อกันว่าถูกบันทึกที่แคว้นวุยโดย วุยเซียงอ๋วง เมื่อประมาณ 2200 ปีที่แล้ว  และบันทึกมหาประวัติศาสตร์ โดยว ซีแบ้เชง แห่งราชวงศ์ฮั่ง จากบันทึกพบว่าราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณหลักฐานสมควรนับเริ่มต้นที่

ราชวงศ์แห่ โดยปกครองประเทศจีนเมื่อ 4000-3700 ปีก่อน (c. 2070 BCE–c. 1600 BCE)

แต่ก่อนหน้าราชวงศ์แห่ก็ได้มีการปกครองโดยจักรพรรดิและกษัตริย์เช่นเดียวกัน แต่อยู่ในรูปแบบของชนเผ่ามากกว่าที่จะเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างในช่วงหลัง

ซึ่งมีเนื้อหาอยู่ในรูปของเทวตำนานมากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาทางประวัติศาสตร์โดยตรง เป็นรอยต่อระหว่างยุคหินใหม่กับยุคโบราณเราเรียกยุคนี้ว่า ยุคสามกษัตริย์ห้าจักรพรรดิ นับช่วงเวลาราว 5000 ปีก่อน (c. 2852 BCE–c. 2070 BCE) เป็นยุคต่อจากตำนานเพ็งโก้วสร้างโลก

สามกษัตริย์ได้แก่
1. เจ้าสวรรค์ฮกฮี
2. พระแม่ธรณีหนึ่งออ
3. เจ้าแห่งมนุษย์ซิ้งล้ง


ห้าจักรพรรดิได้แก่ จักรพรรดิอึ๊งตี้ จักรพรรดิเจงเหียก จักรพรรดิขก จักรพรรดิเงี๋ยว จักรพรรดิซุ๋ง
(ข้อมูลจากบันทึกมหาประวัติศาสตร์ โดย ซีแบ้เชง ราชวงศ์ฮั่ง)

ต่อจากยุค ห้าจักรพรรดิ ก็จะสามารถไล่ลำดับราชวงศ์คร่าวๆได้ดังต่อไปนี้
ราชวงศ์แห่ (ราชวงศ์เซี่ย)

ราชวงศ์เซียง (ราชวงศ์ซัง) เป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้แซ่ และมีการทำพิธีคาราวะบรรพบุรุษเป็นครั้งแรกรวมถึงปรากฏ 10 ราศีบนเป็นครั้งแรก

ราชวงศ์จิว (ราชวงศ์โจว)

ชุงชิว (ชุนชิว)

เจียงก๊ก (จ้านกว๋อ)

ราชวงศ์จิ๋น (ราชวงศ์ฉิน)
แผนที่อาณาเขตในสมัยราชวงศ์ฮั่ง
ราชวงศ์ฮั่ง (ราชวงศ์ฮั่น)

สามก๊ก
ราชวงศ์จิง (ราชวงศ์จิ้น)
ราชวงศ์เหนือ ราชวงศ์ใต้
ราชวงศ์ซุย (ราชวงศ์สุย)
ราชวงศ์ทั้ง (ราชวงศ์ถัง)
ห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร
ราชวงศ์ซ้อง (ราชวงศ์ซ่ง)
ราชวงศ์ง้วน (ราชวงศ์หยวน)
ราชวงศ์เหม็ง (ราชวงศ์หมิง)
ราชวงศ์เช็ง (ราชวงศ์ชิง)

เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ตามลำดับ