ที่มาของราศีบนทั้งสิบ
สวัสดีครับคุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน
ผมมีความเชื่อว่าทุกอย่างๆในโลกไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญการที่คุณผู้อ่านที่รักได้มาอ่านบทความของผมในคอลัมน์ศาสตร์จีนก็คงเป็นเพราะเราเคยอุปถัมภ์กันมา
คุณคงเคยมอบความรู้ให้ผม
ในวันนี้ผมขอมอบแด่คุณต้องขอบคุณทุกๆท่านที่ทำให้ผมได้มีโอกาสค้นคว้าหาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง
ในโหราศาสตร์โดยเฉพาะในเมืองไทยเวลาทำนายมักจะมีการกล่าวอ้างถึงว่าคุณเป็นธาตุนั้น
เธอเป็นธาตุนี้ ธาตุนั้นสัมพันธ์กันแบบนั้นแบบนี้ แล้วความรู้นี้เริ่มต้นมาได้อย่างไร
ในสมัยโบราณประมาณ 4000 ปีมาแล้วในประเทศจีนขณะนั้นเป็นการปกครองของราชวงศ์ซาง (商朝) ได้กำหนดให้ในหนึ่งสัปดาห์มีทั้งสิ้น 10 วันมีอักษรจีน 10 ตัวเป็นตัวแทนเราเรียกอักษรจีนทั้งสิบตัวนี้ว่า ราศีบนหรือเทียงกัง天干 ซึ่งราศีบนทั้งสิบนี้ยังใช้เป็นชื่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าในหนึ่งสัปดาห์มีวันใดตรงกับอักษรใดเราก็ทำพิธีคาราวะบรรพบุรุษที่มีชื่อเดียวกันนั้น
วันทั้งสิบในสมัยซางนั้นเกิดจากความเชื่อที่ว่าพระอาทิตย์มีทั้งสิ้นสิบดวง
ตำนานพระอาทิตย์สิบดวงผมได้เขียนไว้ในเฟสบุกซ์เรื่องนิทานก่อนนอนตอนซักวันหนึ่ง เทพธิดาพระจันทร์และกระต่ายหยก
เรื่องนี้เล่าถึงว่าในยุคบรรพการมีนักรบที่เก่งกล้ามีความแม่นยำดั่งจับวางในการยิงธนู
เขาสามารถยิงทุกสิ่งได้ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตาม
พระอาทิตย์ทั้งสิบเป็นลูกของเง็กเซียนฮ่องเต้แปลงกายมา มีอยู่วันหนึ่งพระอาทิตย์จะขึ้นพร้อมกันทั้งสิบดวงทำให้นักรบผู้นี้ต้องยิงพระอาทิตย์ดับไปถึงเก้าดวง
เนื้อหาเป็นอย่างไรสามารถหาอ่านได้นะครับ
ตอนนี้เรากลับมาพูดถึงเรื่องพระอาทิตย์สิบดวงกันต่อ เมื่อพระอาทิตย์หมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไปมาครบสิบดวงเท่ากับเวลาหนึ่งสัปดาห์สมัยซางเราเรียกว่า
ซุ้ง (旬)
ในวิหารบรรพชนของสมัยซางพบว่าบุรพกษัตริย์ของราชวงศ์ซางล้วนมีชื่อตามราศีบนทั้งสิบทุกๆพระองค์
ดังตัวอย่างต่อรายพระนามดังต่อไปนี้
![]() |
จักรพรรดิไต่อิก |
พระองค์แรก ไต่อิก大乙 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาง มีคุณูปการในการโค่นล้มจักรพรรดิผู้ชั่วร้ายแห่งราชวงศ์แห่ (夏朝) และสถาปณาราชวงศ์ขึ้นที่เมืองอังเอี๊ยง พระราชอำนาจแผ่กระจายไปจนถึงแม่น้ำฮวงเหอชนเผ่าต่างๆขึ้นตรงด้วยเป็นจำนวนมาก ตัวอักษร 乙 จึงมักได้รับการผูกพันอยู่กับดาวมงคลประเภทต่างๆเช่น ดาวอุปถัมภ์ หรือวิชาทำนายที่ขึ้นชื่อว่าบังทองและขงเบ้งชำนาญมากอย่างวิชา ไท้อิก ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ซางเป็นต้น
พระองค์ที่สอง ไต่เตง大丁
พระองค์ที่สาม ไต่กะ大甲 เรื่องราวของพระองค์ที่บันทึกในมหาประวัติศาสตร์โดยซือหม่าเซียนระบุว่า พระองค์ครองราชย์เป็นลำดับที่สี่ โดยก่อนหน้านั้นมีปิตุลาของพระองค์พระนามว่ากัวเปี้ย外丙 และต๋งยิ้ม仲壬เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เมื่อพระองค์เจริญวัยจึงได้ขึ้นครองราชย์และในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์มีที่ปรึกษาระดับตำนานอย่าง อี่เอง (伊尹) ผู้รจนาบทอี่หุง (伊訓) ซึ่งเป็นหลักปกครองโดยธรรม ปัจจุบันนี้บันทึกดังกล่าวได้ถูกรวบรวมเข้าไว้เป็นบทๆหนึ่งในคัมภีร์แจเกง (書經) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคัมภีร์สำคัญของขงจื๊อ คุณูปการ อี่เอง ดำรงตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดีของซาง ตัวอักษร 甲 นี้จึงมักจะผูกพันกับเรื่องใหญ่ๆรวมถึงวิชาทำนายอย่างแปดประตูพิสดารที่มีชื่อว่า ขี่มึ๊งตุ่งกะเป็นต้น (奇门遁甲)
พระองค์ที่สี่ ไต่แก大庚 พระองค์ปกครองประเทศอยู่ 25 ปีด้วยความผาสุข
พระองค์ที่ห้า ไต่โบ่ว 大戊ในยุคของพระองค์เกิดปรากฎการณ์ประหลาดนั่นคือในพระราชวังปรากฏต้นหม่อนและต้นข้าวฟ่างโตขึ้นมาด้วยกัน พระองค์ปกครองประเทศด้วยความร่มเย็นเป็นสุขถึง 75 ปี ในระหว่างนั้นชนเผ่าทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกล้วนส่งบรรณาการมาแสดงความคาราวะ ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์มากนับได้ว่าเป็นยุคทองของราชวงศ์ซางเลยก็ว่าได้
เมื่อเห็นรัชสมัยของจักรพรรดิทั้งสามพระองค์ทำให้นึกถึงการปรากฏของอักษร 甲庚戊 ในดวงจีนสายโป๊ยหยี่สี่เถียวเราเรียกว่าการปรากฏนี้ว่า ซำคี้
หมายถึงประสบความสำเร็จสามารถคำชูวงศ์ตระกูล แม้ตกอับก็จะมีผู้ช่วยเหลือเหมือนดั่งยุคสมัยของจักรพรรดิทั้งสามพระองค์ที่ผ่านมา
![]() |
ชนเผ่าลำอี้ |
พระองค์ที่หก ตงเตง 中丁ในการปกครองของพระองค์
ได้มีชนเผ่าคนเถื่อนนามว่า ลำอี้ (蓝夷)เข้าโจมตีอาณาจักรโดยชนเผ่านี้จะสวมใส่ชุดเกราะสีฟ้าทำให้มีอีกชื่อว่า
คนเถื่อนสีฟ้านับเป็นรอยต่อที่ได้รับความท้าทายเป็นอย่างมากเพราะต้องถูกเปรียบเทียบกับจักรพรรดิพระองค์ก่อน
พระองค์ที่เจ็ด โจ้วอิก 祖乙 ในยนุคสมัยของพระองค์ได้ปรากฏบุคคลมีความสามารถนาม
บู๊เฮียง (巫贤) มาดำรงตำแหน่งมหาเสนาบดีทำให้แว่นแคว้นมีความสงบสุขและเป็นปึกแผ่น พระองค์จึงไดครองราชย์บัลลังนานถึง 19 ปี
เมื่อเทียบกับพระบิดาที่ได้ครองเพียงเก้าปีนับว่านานกว่ากันมาก
พระองค์ที่แปด โจ้วซิง 祖辛
พระองค์ที่เก้า โจ้วเตง 祖丁
พระองค์ที่สิบ เสี้ยวอิก小乙
พระองค์ที่สิบเอ็ด บู้เตง武丁 ในยุคนี้ราชวงศ์ซางได้พระจักรพรรดิที่ทรงปรีชาสามารถ เนื่องจากพระองค์ตอนเป็นองค์ชายได้รับการศึกษาที่เมืองห่างไกล ได้พบเห็นปัญหาของการชิงที่ดินทำกิน สัตว์เลี้ยง และผู้คนของชนเผ่ารอบๆข้างทำให้พระองค์หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ เลือกพระชายาจากชนเผ่าต่างๆ เรื่องราวของพระองค์ทำให้นึกถึงคุณสมบัติของไฟเตงมีคำกลอนปรากฏอยู่ในหนังสือดวงจีนสายโป๊ยหยี่สี่เถียวชื่อ ติเทียงช่วย (滴天髓) กล่าวไว้ว่า
丁火柔中,内性昭融。抱乙而孝,合壬而忠。旺而不烈,衰而不穷,如有嫡母,可秋可冬
พระองค์ที่แปด โจ้วซิง 祖辛
พระองค์ที่เก้า โจ้วเตง 祖丁
พระองค์ที่สิบ เสี้ยวอิก小乙
พระองค์ที่สิบเอ็ด บู้เตง武丁 ในยุคนี้ราชวงศ์ซางได้พระจักรพรรดิที่ทรงปรีชาสามารถ เนื่องจากพระองค์ตอนเป็นองค์ชายได้รับการศึกษาที่เมืองห่างไกล ได้พบเห็นปัญหาของการชิงที่ดินทำกิน สัตว์เลี้ยง และผู้คนของชนเผ่ารอบๆข้างทำให้พระองค์หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ เลือกพระชายาจากชนเผ่าต่างๆ เรื่องราวของพระองค์ทำให้นึกถึงคุณสมบัติของไฟเตงมีคำกลอนปรากฏอยู่ในหนังสือดวงจีนสายโป๊ยหยี่สี่เถียวชื่อ ติเทียงช่วย (滴天髓) กล่าวไว้ว่า
丁火柔中,内性昭融。抱乙而孝,合壬而忠。旺而不烈,衰而不穷,如有嫡母,可秋可冬
ไฟเตงเป็นธาตุที่อ่อนโยน นิสัยดีมีจิตเมตตา รักชอบไม้อิกเป็นที่ตั้ง
ร่วมน้ำยิ้มมีคุณงามความดี แข็งแรงไม่เท่าไฟเปี้ย แม้อ่อนแอแต่ไม่อับจนเหมือนมีแม่อุ้มชูให้พลัง
ย่อมผ่านพ้นวันชิวและตัง จากมหาตำนานอ่านดวง ฉบับภาษาไทย เรียบเรียงโดย อาจารย์ ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช
ซึ่งองค์จักรพรรดิบู้เตงก็ใช้การประสานหรือฮะตนเองเข้ากับชนเผ่าต่างๆได้อย่างกลมกลืน และมีกุศโลบายในการปกครองโดยการยกย่องบูรพกษัตริย์เป็นสำคัญนับได้ว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรซางก็ว่าได้
พระองค์ที่สิบสอง โจ้วกะ祖甲 มีพระอนุชาพระนามว่า บอกยิ้ม 卜壬 แม้ว่าพระองค์จะปกครองอาณาจักรได้หลายปีแต่ความสงบสุขเรียกได้ว่ามีน้อยมากเพราะนับจากปฐมกษัตริย์เป็นต้นมายุคของพระองค์พบศึกสงครามบ่อย
และยังมีกบฏเกิดขึ้น
พระองค์ที่สิบสาม คังเตง康丁มีพระอนุชาพระนามว่า เล่อกี้呂己
พระองค์ที่สิบสี่ บู้อิก武乙 ในช่วงหลังๆของราชวงศ์ซางได้พบกับความท้าทายด้านการทหารหลายต่อหลายครั้ง ในยุคนี้เกิดสงครามขึ้นหลายครั้ง และเริ่มมีอาณาจักรที่โดดเด่นขึ้นนั่นคืออาณาจักรจิวนั่นเอง พระองค์สวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่าในระหว่างที่ออกป่าล่าสัตว์
พระองค์ที่สิบห้า บุ๊งบู้เตง文武丁มีพระอนุชาพระนามว่า บอกเปี้ย卜丙 ในช่วงเวลาของพระองค์ได้ก่อสงครามไปทั่วและได้มีขุนศึกคู่พระทัยซึ่งเป็นเจ้าเมืองของแคว้นจิวนามอ๋องกุ้ย (王季) ทำให้พระองค์สามารถเอาชนะชนเผ่าต่างๆได้ทั่วทุกทิศ พระองค์เกรงกลัวว่าต่อขุนศึกคู่พระทัยท่านนี้จะแปรพักตร์ หลังจากชนะสงครามสุดท้าย พระองค์ทรงโปรดปูนบำเหน็จแก่อ๋องกุ้ยเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นส่งมือสังหารลอบฆ่าทิ้งในเวลาต่อมา นับได้ว่าการปกครองแผ่นดินโดยธรรมของไท้อิกปฐมกษัตริย์ได้เริ่มสั่นคลอนถึงขีดสุดแล้วหลังจากนี้ก็เข้าสู่ภาวะล่วงโรย
พระองค์ที่สิบหก ตี่อิก帝乙
พระองค์ที่สิบเจ็ด ตี่ซิง帝辛พระองค์สุดท้ายเป็นจักรพรรดิที่มีชื่อเสียงในด้านร้ายที่โด่งดังมากหลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระสมญานามว่า “พระเจ้าติ้วอ๋อง紂王” จักรพรรดิองค์นี้เป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ซางพระองค์เป็นคนโหดเหี้ยมอำหิตสั่งประหารชีวิตคนด้วยวิธีพิสดารเกินกว่าที่เราๆจะเข้าใจได้ พระองค์เป็นผู้ก่อให้เกิดสงครามรบกับราชวงศ์จิวและพ่ายแพ้ให้กับจิวบู้อ๋องในที่สุด (周武王) จนนักปราชญ์ราชวงศ์เหม็งนำไปเขียนเป็นนิยามปกรณัมเรื่อง ห้องสิน ที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน นักโบราณคดีมีความเชื่อว่าพระนามของจักรพรรดิทุกๆพระองค์ในสมัยซางถูกคัดเลือกโดยวิธีการเสี่ยงทาย
พระองค์ที่สิบสาม คังเตง康丁มีพระอนุชาพระนามว่า เล่อกี้呂己
พระองค์ที่สิบสี่ บู้อิก武乙 ในช่วงหลังๆของราชวงศ์ซางได้พบกับความท้าทายด้านการทหารหลายต่อหลายครั้ง ในยุคนี้เกิดสงครามขึ้นหลายครั้ง และเริ่มมีอาณาจักรที่โดดเด่นขึ้นนั่นคืออาณาจักรจิวนั่นเอง พระองค์สวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่าในระหว่างที่ออกป่าล่าสัตว์
พระองค์ที่สิบห้า บุ๊งบู้เตง文武丁มีพระอนุชาพระนามว่า บอกเปี้ย卜丙 ในช่วงเวลาของพระองค์ได้ก่อสงครามไปทั่วและได้มีขุนศึกคู่พระทัยซึ่งเป็นเจ้าเมืองของแคว้นจิวนามอ๋องกุ้ย (王季) ทำให้พระองค์สามารถเอาชนะชนเผ่าต่างๆได้ทั่วทุกทิศ พระองค์เกรงกลัวว่าต่อขุนศึกคู่พระทัยท่านนี้จะแปรพักตร์ หลังจากชนะสงครามสุดท้าย พระองค์ทรงโปรดปูนบำเหน็จแก่อ๋องกุ้ยเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นส่งมือสังหารลอบฆ่าทิ้งในเวลาต่อมา นับได้ว่าการปกครองแผ่นดินโดยธรรมของไท้อิกปฐมกษัตริย์ได้เริ่มสั่นคลอนถึงขีดสุดแล้วหลังจากนี้ก็เข้าสู่ภาวะล่วงโรย
พระองค์ที่สิบหก ตี่อิก帝乙
พระองค์ที่สิบเจ็ด ตี่ซิง帝辛พระองค์สุดท้ายเป็นจักรพรรดิที่มีชื่อเสียงในด้านร้ายที่โด่งดังมากหลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระสมญานามว่า “พระเจ้าติ้วอ๋อง紂王” จักรพรรดิองค์นี้เป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ซางพระองค์เป็นคนโหดเหี้ยมอำหิตสั่งประหารชีวิตคนด้วยวิธีพิสดารเกินกว่าที่เราๆจะเข้าใจได้ พระองค์เป็นผู้ก่อให้เกิดสงครามรบกับราชวงศ์จิวและพ่ายแพ้ให้กับจิวบู้อ๋องในที่สุด (周武王) จนนักปราชญ์ราชวงศ์เหม็งนำไปเขียนเป็นนิยามปกรณัมเรื่อง ห้องสิน ที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน นักโบราณคดีมีความเชื่อว่าพระนามของจักรพรรดิทุกๆพระองค์ในสมัยซางถูกคัดเลือกโดยวิธีการเสี่ยงทาย
ตอนนี้เรามาดูรากศัพท์ของราศีบนทั้งสิบกันนะครับว่ามีความหมายว่าอะไรบ้าง
สัญลักษณ์ราศีบน
|
ความหมายในสมัยโบราณ
|
ความหมายทางโหราศาสตร์
|
甲
|
เปลือกหอย
|
ธาตุไม้เอี๊ยง สูงศักดิ์ มีค่าควรเมือง
อันดับแรก หัวหน้า ผู้นำ นายกรัฐมนตรี
|
乙
|
ก้างปลา
|
ธาตุไม้อิม อ่อนโยน ศิลป์ วัฒนธรรม โอนอ่อน
แปรตามกระแส
|
丙
|
หางปลา
|
ธาตุไฟเอี๊ยง ความหวัง ความวุ่นวาย อดทน
อบอุ่น แหลมคม มีอำนาจ
|
丁
|
เล็บ
|
ธาตุไฟอิม ความหวัง ความเสียสละ การพัฒนา
การลอบสังหาร
|
戊
|
หอก
|
ธาตุดินเอี๊ยง สถานทางสังคม ข้อตกลง
เมืองหลวง เงินทอง การเงินการธนาคาร ซื่อสัตย์
|
己
|
อุปกรณ์ที่ใช้ทอผ้า
|
ธาตุดินอิม การวางแผน ความปรารถนา แผนการ
ความคิดสร้างสรรค์ รอบคอบ
|
庚
|
ดาวศุกร์
|
ธาตุทองเอี๊ยง อุปสรรค เกราะคุ้มกัน
การต่อสู้ ความกล้าหาญ พลังในการขับเคลื่อน ป่าเถื่อน
|
辛
|
ผู้บังคับบัญชา
|
ธาตุทองอิม ความผิดพลาด ปัญหาการประท้วง
การปลดแอก การเกิดขึ้นของนวัตกรรม
|
壬
|
ภาระหน้าที่
|
ธาตุน้ำเอี๊ยง การเพาะพันธุ์ ก๊าซธรรมชาติ
การไหล ความสับสน การเคลื่อนที่ ปัญญา
|
癸
|
กำจัดวัชพืช
|
ธาตุน้ำอิม การควบคุม ความลำบาก
การเคลื่อนที่แบบเป็นพลวัต เกี่ยวกับเพศและประเวณี
|
ในปัจจุบันนี้อักษรทั้งสิบตัวได้เป็นตัวแทนของธาตุทั้งห้า ไฟ ดิน ทอง น้ำ ไม้ แบ่งออกเป็นอิมและเอี๊ยงโดยกำหนดให้
甲丙戊庚壬 เป็นตัวแทนของฝ่ายเอี๊ยง 乙丁己辛癸 เป็นตัวแทนของฝ่ายอิม และใช้ในการทำนายทุกประเภทของจีน เราสามารถมองดูยุคสมัยของซางด้วยกฎของไตรลักษณ์อย่างการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการเสื่อมสลายเป็นวงโคจรที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและคงเป็นนี้ชั่วนิรันดร
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เราจะรับมือต่อการดับสูญได้อย่างไร ปัญหานั้นอยู่ที่คุณจะสามารถใช้ช่วงเวลาที่ดีที่มีอยู่จำกัดให้ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไรต่างหาก ประเทศจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กะ อิก เปี้ย เตง โบ่ว กี้ แก ซิง ยิ้ม กุ่ย ได้ข้ามกาลเวลามาให้คุณได้ใช้งานโปรดอย่าลืมคุณค่าของอดีต
***สงวนลิขสิทธิ์***