Thursday, 5 December 2013

“ไทม์แมชชีน” ประวัติการทำปฏิทินจีนอย่างย่อ

ตอน ไทม์แมชชีน

ไทม์แมชชีน หรือเครื่องข้ามกาลเวลาคุณคงเคยได้เห็นหรือได้อ่านผ่านตาบ้างโดยเฉพาะในนิยายอย่าง เจาะเวลาหาจิ๋นซีของจีน หรือทวิภพของไทย ความตรึงตราที่ได้ข้ามไปสู่อดีตอันไกลโพ้นและได้มีส่วนร่วมแก้ไขประวัติศาสตร์ช่างสนุกและเร้าใจ สำหรับบางท่านเครื่องข้ามกาลเวลาเป็นแค่สิ่งเพ้อฝัน แต่ในความจริงเรามีเครื่องข้ามกาลเวลาใช้กันอยู่ทุกวันนะครับ สิ่งนั้นคือ ปฏิทิน นี่เอง
แม้ว่าปฏิทินจะไม่สามารถพาเราเหาะเหินข้ามกาลเวลาไปสู่อดีตได้หรือไปเห็นอนาคตได้อย่างที่ในภาพยนตร์หรือนิยาย แต่ปฏิทินก็จะช่วยให้คุณจดจำภาพในอดีตผ่านตัวเลขวันเดือนปีได้อย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญบางท่านสามารถมองเห็นอนาคตจากตัวเลขเหล่านี้ด้วยโหราศาสตร์ ประเทศที่มีความเก่าแก่อย่างประเทศจีน ปฏิทินแทบจะเป็นหัวใจของอารยธรรมที่มีความสำคัญมากตั้งแต่สูงสุดอย่างองค์จักรพรรดิจนไประดับประชาชนคนสามัญ
ปฏิทินมีความเป็นมาอย่างไรผมจะนำท่านเยี่ยมชมเรื่องราวกันนะครับ นักประวัติศาสตร์พบว่าปฏิทินชุดแรกๆถูกสร้างมามากว่าหนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยปีก่อนและยังได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สมัยนั้นยังเป็นยุคหินใหม่ยังใช้ขวานหินและเครื่องกระเบื้องในการดำรงชีพกันอยู่แต่มีปฏิทินใช้กันแล้วครับ ที่น่าสนใจก็คือยุคหินใหม่ยาวนานคอบคลุมถึงยุห้าจักรพรรดิโบราณผู้มีคุณูปการของจีน




 ปฏิทินได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆจนดูมีมาตรฐานให้นักประวัติศาสตร์สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (商朝) ราชวงศ์นี้ปกครองประเทศจีนเมื่อ 4000 ปีที่แล้ว มีเทวะตำนานเรื่อง ห้องสินเกี่ยวพันกันอยู่เป็นยุคที่เทพและมนุษย์ยังอยู่ใกล้ชิดกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสวรรค์กับมนุษย์เชื่อมกันด้วยความเป็นไปของดินฟ้าอากาศ ปฏิทินจึงเป็นเครื่องมือที่คนโบราณอ่านเรื่องราวที่สวรรค์แจ้งแก่ตน 

จากหลักฐานพบว่าในยุคช่วงราชวงศ์ซางได้ปรับปรุงปฏิทินโดยเน้นการจดบันทึกความเป็นไปของพระจันทร์เช่นการเคลื่อนไหวแบบข้างขึ้นข้างแรมเพื่อกำหนดเดือน และยังกำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน เราจึงเรียกปฏิทินแบบนี้ว่า ปฏิทินแบบ จันทรคติ ในหนึ่งเดือนจะมีวันประมาณ 29 หรือ 30 วัน แปดร้อยปีต่อมาสู่ยุคเจียงก๊ก () จึงเริ่มมีการใช้ 24 ฤดูกาล (二十四節氣) เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเป็นรากฐานของปฏิทินทางโหราศาสตร์จีน

ฤดูกาลแค่สามฤดูแบบไทยหรือสี่ฤดูอย่างสากลปรกติไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น ด้วยความละเอียดของคนจีนที่ต้องการการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงต้องการทราบอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือนเพื่อกำหนดการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีของธรรมชาติ

คนในยุคนั้นจะแบ่งท้องฟ้าออกเป็นออกเป็น 24 ส่วนเรียกทับศัพท์ว่า โจ๊ยขี่ (節氣) แนวคิดของ 24 ฤดูกาลโดยกำหนดให้พระอาทิตย์มีการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วคงที่ ในแต่ละฤดูจะมีวันเท่าๆกันวิธีการนี้เรียกว่า เพ๊งขี่ (平氣) วิธีการดังกล่าวและได้ใช้เรื่อยมาจนถึงราชวงศ์เหม็ง (大明) ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาของประเทศไทย นับว่าเป็นการเว้นวรรคพัฒนาการของปฏิทินที่ค่อนข้างยาวนานเพราะผ่านราชวงศ์ของจีนมาเป็นจำนวนมาก
ปรากฏว่าวิธีการจัดวันให้เท่าๆกันแบบ เพ๊งขี่ (平氣) ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของดวงอาทิตย์ ทำให้รู้ว่าการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ไม่คงที่ นักปราชญ์ทั้งหลายจึงเปลี่ยนไปใช้เส้นสุริยวิถี(เส้นที่พระอาทิตย์เดินบนฟ้าโดยสังเกตจากพื้นโลก) และทำการแบ่งออกเป็น 24 ส่วนเท่าๆกันได้ส่วนละ 15 องศาเมื่อเรานำ 24 ส่วนคูณด้วย 15 องศาเราจะพบว่าได้ทั้ง 360 องศาพอดี  การคำนวณดังกล่าวทำให้เกิดปฏิทินแบบ เตงขี่ (定氣) กว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินแบบนี้ก็ต้องรอจนเข้าสู่ราชวงศ์เช็ง(大清) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ปฏิทินชุดนี้มีตรงกับความเป็นจริงมากกว่าเดิม

ในยุคที่ยังใช้ เพ๊งขี่ (平气) อยู่นั้นเดือนแบบจันทรคติจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ราวๆ 29 วันเกินครึ่งนิดๆ จึงมีปัญหาหาเรื่องการขึ้นเดือนใหม่อยู่เสมอๆ ครั้นจะใช้หนึ่งเดือนมี 29 วันครึ่งเมื่อคำนวณแล้วหนึ่งปีจะมีวันเพียง 354 วันเท่านั้น เพื่อทำให้ในแต่ละเดือนตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดจึงเกิดการเพิ่มเดือนขึ้นเพื่อให้ปฏิทินสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของพระจันทร์นั่นเอง แก้ไขที่เป็นระยะเวลานานสองเดือนจะถูกเพิ่มลงในปฏิทินที่จะนำมาจุดเริ่มต้นของเดือนกลับไปที่ดวงจันทร์ใหม่ แนวความคิดที่ก้าวกระโดดนี้ทำให้ในแต่ละเดือนจะตรงกับลำดับข้างขึ้นข้างแรมได้อย่างสมบูรณ์ เดือนพิเศษที่ถูกเพิ่มขึ้นมานี้ในไทยเราเรียกว่า อธิกวาร โดยมีเป้าหมายหลักให้ ศรีษมายัน 夏至 เหมายัน 冬至 และ วิษุวัต () สอดคล้องกับฤดูกาลให้มากที่สุด
สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (พ.. 563- 763) มีนักปราชญ์ที่เก่งเรื่องดาราศาสตร์ได้ข้อสังเกตว่าการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์บนท้องฟ้า กับลักษณะที่ในอดีตกำหนดไว้ไม่สอดคล้องกัน แต่บางท่านก็ยังเลือกที่จะใช้เขาก็ยังคงใช้วิธีการ เพ๊งขี่ (平气) ต่อไป

ถ้าหากคุณถามว่าการเรียนรู้ 24 ฤดูกาลมีประโยชน์อย่างไรกับเราในยุคหลายร้อยปีให้หลัง คำตอบมีมากเลยครับเพราะสามารถทำให้เรากะสภาพดินฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย รายละเอียดมีดังนี้นะครับ

1 ลิบชุน มักอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มผลิใบ
2 อู๋จุ้ย  มักอยู่ในช่วงกลางค่อนปลายเดือนกุมภาพันธ์ช่วงนี้จะมีฝนหลงฤดู
3 เก๋งเต็ก แมลงออกจากการจำศีล เพราะฉะนั้นเกษตรกรหรือคนที่รักสวนดอกไม้ควรเริ่มหาวิธีป้องกัน
4 ชุนฮุน  วันนี้กลางวันและกลางคืนจะยาวนานเท่ากัน
5 เช็งเม้ง มักเกิดพายุฟ้าคะนองแต่ไม่มีฝนแม้มีก็จะน้อย
6 ก๊อกฮู๊ ฝนต้นฤดูกำลังมาเริ่มต้นการเพาะปลูกข้าวนาปี
นาปี คือนาข้าวที่ทำในระหว่างเดือนเมษายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูการทำนาปรกติ พันธุ์ข้าวนาปีจะออกดอกตามวันและเดือนที่ค่อนข้างตายตัว ไม่ว่าจะตกกล้าในเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม หรือสิงหาคม เมื่อถึงวันที่จะออกดอกก็ออกพร้อมกันหมด เนื่องจากช่วงของแสงต่อวันบังคับ ตามปรกติจะแบ่งวันหนึ่งออกเป็น กลางวัน ๑๒ ชั่วโมง  กลางคืน ๑๒ ชั่วโมง แต่เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก จึงทำให้แต่ละส่วนของ โลกได้รับแสงอาทิตย์ในแต่ละวันไม่เท่ากัน  ทำให้เมื่อช่วงของวันยาวขึ้นข้าวก็จะเจริญเติบโตทางลำต้น ไม่ออกรวง หรือถ้าออกรวงได้ก็ไม่พร้อมกันในต้นเดียว บางรวงก็แก่โน้มลง บางรวงก็เพิ่งตั้งท้อง 
7 ลิบแฮ่ อากาศจะอบอ้าวเพิ่มขึ้นตามลำดับ
8 เสียวมั๊ว พืชพันธ์เจริญเติบโต
9 มั่งเจ๋ง  พืชพันธ์เหมาะกับการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง หรือพืชผลทางการเกษตรเพราะหลังจากนี้อากาศจะอบอ้าวมากขึ้นมีฝนตกบ่อยขึ้น *ข้าวนาปรังคือข้าวนอกฤดูการทำนาของไทยเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อแสง สามารถปลูกเมื่อไหร่ก็ได้*  
10 เฮ่จี่ ศรีษมายัน กลางวันจะยาวนานที่สุด
11 เสี่ยวซู๊ อากาศอบอ้าวมากขึ้น
12 ไต้ซู๊ อากาศอบอ้าวมากที่สุดมาก
13 ลิบชิว ฝนกำลังจะมา
14 ซู๊ซู๊ อากาศอบอ้าวลดลง
15 แป๊ะโล่ว เริ่มปรากฏน้ำค้างและความชื้นในอากาศสูงขึ้น
16 ซิวฮุน วันนี้กลางวันและกลางคืนจะยาวนานเท่ากัน หลังจากนี้กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน
เมื่อวันเริ่มสั้นลง คนที่ทำข้าวนาปี เช่น ปักดำในเดือนตุลาคม ต้นข้าวจะเตี้ย แตกกอน้อย รวงเล็ก เพราะยังไม่ทันเจริญทางลำต้นก็ต้องมาเจริญทางพันธุ์ นั่นคือ วันสั้นยาวมีผลต่อการออกรวงของข้าว 
17 ฮั่งโล่ว อุณหภูมิของน้ำค้างและความชื้นในอากาศลดต่ำลงเกิดฝนตกชุกไปทั่ว
18 ซึงกั่ง อากาศเย็นเริ่มปรากฏล่องรอยให้สามารถสัมผัสได้
19 ลิบตัง เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว
20 เสียวเซาะ ลมเย็นเพิ่มมากขึ้น
21 ไต้เซาะ ลมเย็นปรากฏมากที่สุด
22 ตังจี่ เหมายัน กลางคืนจะยาวนานที่สุด
23 เสียวฮั๊ง อากาศหนาวเข้าครอบคลุม
24 ไต้ฮั๊ง อากาศหนาวมากที่สุด


เมื่อคุณผู้อ่านลองอ่านดูแล้วคงรู้สึกว่าเหมาะว่าเหมาะกับชีวิตเกษตรกรมากกว่าใช่หรือไม่ครับ แต่ความจริงแล้วถ้าคุณปรับใช้ให้ดีจะทำให้คุณได้เปรียบในการดำเนินชีวิตอยู่มากยกตัวอย่าง เช่น คุณทราบแล้วว่าฝนจะตกช่วงนี้คุณก็ควรพกร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัววางแผนไปพบลูกค้าก็อย่าให้ไกลเกินไปเพราะการจราจรอาจมีปัญหาเมื่อฝนตกลงมาจริงๆ  ส่วนเมื่อเข้าสู่ช่วงอากาศเย็นการเตรียมสุขภาพให้ดีย่อมป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ จริงอยู่ที่ประเทศไทยหน้าหนาวแทบจะไม่รู้สึก แต่อวัยวะภายในของคุณนั้นยังทำหน้าที่ของเขาอย่างอัตโนมัติ เพราะ DNA ของบรรพบุรุษยังวนเวียนอยู่ในร่างกายของคนเราทุกคน หากคุณผู้อ่านคุณมีข้อสงสัยอยากสอบถามเกี่ยวกับบทความศาสตร์จีนที่ผ่านมา สามารถฝากคำถามได้ที่ www.facebook/heavensign นะครับ

ขณะนี้ผมได้เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับ "ทิศทางที่ปรากฏปราณขโมยลาภ" โดยพิจารณาจากราศีล่างหรือที่เรารู้จักกันในนาม 12 นักษัตรครับสามารถติตามได้จาก หัวข้อ ระวังปราณขโมยลาภ ได้เลยนะครับ

**สงวนลิขสิทธิ์**

No comments: